Chaichai Books

View Original

เสวนาวรรณกรรม มี ในเมษายน ซอล ในกรกฎาคม

เสวนาวรรณกรรมเกาหลีร่วมสมัย มี ในเมษายน ซอล ในกรกฎาคม (사월의 미, 칠월의 솔)

บันทึกการเสวนาเปิดตัวหนังสือ มี ในเมษายน ซอล ในกรกฎาคม (사월의 미, 칠월의 솔) ในเทศกาลเกาหลีครั้งที่ 10 (The 10th Korean Festival) จัดโดยสาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสำนักพิมพ์ไจไจบุ๊คส์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563

วิทยากร

  • อาจารย์อิสริยา พาที สาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • รศ. ดร. จักรกริช สังขมณี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ชานันท์ ยอดหงษ์ คอลัมนิสต์และนักประวัติศาสตร์

ผู้ดำเนินรายการ

  • อาจารย์อัสนี พูลรักษ์ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิทยากรทั้งสามท่าน ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเกาหลีใต้ร่วมสมัย ทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่สะท้อนผ่านวรรณกรรมเรื่องสั้น 7 เรื่องในหนังสือ มี ในเมษายน ซอล ในกรกฎาคม (사월의 미, 칠월의 솔) ซึ่งได้รับการคัดสรรและให้ทุนสนับสนุนการแปลเป็นภาษาไทยจาก The Korea Foundation

ประเด็นในเสวนา

00:04 รศ. ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเปิดงาน

02:25 คัง ยอนกย็อง ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี

04:24 เริ่มการเสวนา

06:27 ที่มาที่ไปของรวมเรื่องสั้น มีในเมษายน ซอลในกรกฎาคม

09:00 เกาหลีใต้ในฐานะ content industry และการศึกษาสังคมเกาหลีที่เปลี่ยนไปผ่านเรื่องสั้น 'ร่วมสมัย'

14:00 ระบบชนชั้นในสังคมโชซ็อน : เรื่องสั้น เมื่อเคียวเห่า

23:30 เรื่องสั้นที่พูดเรื่องที่พูดไม่ได้ : เรื่องสั้น มุม

30:00 'อูรี' ในสังคมรวมหมู่ และพื้นที่สมัยใหม่ของปัจเจกฯ : เรื่องสั้น ฉันไปร้านสะดวกซื้อ

40:52 เกาหลีใต้หลัง IMF การพัฒนาของคน 'ตัวใหญ่' : เรื่องสั้น ทุกคนชอบเกิลส์เจเนอเรชั่น

52:20 นักศึกษาสู่ชนชั้นกลาง จิตวิญญาณทางการเมืองที่เปลี่ยนไป : เรื่องสั้น โรงแรมพลาซ่า

01:04:02 จากสังคมปิด สู่สังคมพหุวัฒนธรรม ความท้าทายใหม่ของชาตินิยมในเกาหลี : เรื่องสั้น มี ในเมษายน ซอลในกรกฎาคม และ อย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งของฮารูโอะ

01:15:27 ประสบการณ์การแปลรวมเรื่องสั้นเกาหลี และความหมายที่ต้องอ่านผ่านตัวบทวัฒนธรรม เช่น สำนวน นิทานพื้นบ้าน การใช้ภาษา

#MiSolKorea #เกาหลี

ประวัติวิทยากร

รศ.ดร.จักรกริช สังขมณี อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิชาการผู้สนใจด้านมานุษยวิทยานิเวศและการพัฒนา มานุษยวิทยาชายแดน การเปลี่ยนผ่านของสังคมชนบท และวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) และยังดำรงตำแหน่ง Program Director ของหลักสูตร Politics and Global Studies (PGS) หลักสูตรนานาชาติเปิดใหม่ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กำลังมาแรง

รศ.ดร.จักรกริชเป็นผู้สอนวิชา Korean Film and Society ซึ่งนำภาพยนตร์เกาหลีมาสะท้อนให้เห็นพัฒนาการสังคมเกาหลีสมัยใหม่ รวมทั้งเคยตีพิมพ์บทความ “สังคมเกาหลีใต้สมัยใหม่: มองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านกระแสคลื่นวัฒนธรรม เกาหลีใต้ (Hallyu)” ในหนังสือเกาหลีปัจจุบัน (2560) ของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ตัวอย่างผลงานหนังสือ Limology: ชายแดนศึกษา กับเขต-ขันธ์วิทยาของพื้นที่/ระหว่าง (สำนักพิมพ์ศยาม)

ผลงานวิชาการอื่นๆ: https://pgschula.org/jakkrit

อ.อิสริยา พาที อาจารย์สาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้แปล โบลโน้ต (Blonote) ของ แดเนียล อาร์มันด์ ลี หรือ ทาโบล โดยสำนักพิมพ์ไจไจบุ๊คส์เมื่อปี 2018 

อิสริยาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เอกภาษาไทย โทภาษาเกาหลี จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท เอกการสอนภาษาเกาหลีในฐานะภาษาต่างประเทศ จากบัณฑิตวิทยาลัยการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา ขณะนี้กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวาในสาขาเดิม

ชานันท์ ยอดหงษ์ นักประวัติศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ ‘นายใน สมัยรัชกาลที่ 6’ และคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ SEX-RAY ในเว็บไซต์ The MATTER นอกจากนี้ยังเป็นผู้ดำเนินรายการ ‘หมายเหตุประเพทไทย’ ของประชาไท ซึ่งนำประเด็นต่างๆ ในสังคมมาพูดคุยกันในเชิงประวัติศาสตร์ เช่น รายการตอนที่ 171 ว่าด้วย ‘ติ่งเกาหลีวิทยา’ ที่สำรวจวัฒนธรรมแฟนคลับนักร้องเกาหลี ซึ่งนับเป็นวัฒนธรรมย่อย (subculture) ของศิลปวัฒนธรรม/ดนตรีจากเกาหลีใต้หรือ “K-pop” นำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ร่วม


อ่านบทความเกี่ยวกับงานเสวนาเพิ่มเติมได้ที่

  • จากทาสระบบศักดินา สู่สังคมพหุวัฒนธรรม สรุปเสวนาอ่านสังคมเกาหลีผ่านเรื่องสั้นร่วมสมัย อ่าน

  • วรรณกรรมเกาหลี: ช่องว่างระหว่างมีและซอล เราได้ยินอะไร?
    อ่าน (1) | อ่าน (2)

  • มีในเมษายน ซอลในกรกฎาคม : สังคมที่ความหลากหลายกลายเป็นสิ่งที่รัฐเกลียดชัง อ่าน